How to Deutsch. เริ่มเรียนภาษาเยอรมันด้วยตัวเอง

การกำหนดช่วงเวลา

Guten Morgen     :    6 Uhr – 11 Uhr

Guten Tag    11 Uhr – 18 Uhr

Guten Abend     18 Uhr -……

พยัญชนะภาษาเยอรมัน

ภาษาเยอรมันมีอักษร (Alphabet) 26 ตัวอักษร

ตัวอักษรพิเศษที่เรียกว่า Umlauts : (อุมเล๊าทฺ)

Ä ä  แอรฺ

Ö ö  อือ

Ü ü อูว

ss = ß เอ็ส-เซ็ท

 

Der Artikel คำนำหน้านาม

Das Nomen (Substantiv) คำนาม

Das Verb  คำกริยา

Das Adjektiv  คำคุณศัพท์

Die Präposition  คำบุพบท

Die Konjunktion  คำสันธาน

Das Adverb คำกริยาวิเศษณ์

Das Pronomen คำสรรพนาม

Die Interjektion  คำอุทาน

คำนำหน้านาม บ่งบอกเพศของคำศัพท์

Maskulin  เพศชาย

Neutral   เพศกลาง

Feminin  เพศหญิง

Plural   พหูพจน์

คำนำหน้านาม
เพศของคำนาม
คำสรรพนาม
Hinweise : กฏของ Personalpronomen

1.ใช้แทนคำนาม

2.คุณสามารถแทนที่คำนามทั้งหมดด้วยคำสรรพนามส่วนบุคคล แม้กระทั่งคำนามที่ไม่ใช่บุคคล ในบุรุษที่3 เอกพจน์ (er, sie, es) สรรพนามส่วนบุคคลจะขึ้นอยู่กับเพศ ของคำนาม

3.เมื่อพูดคุยกับผู้คน ให้ใช้:

3.1) อย่างไม่เป็นทางการ (du, ihr) กับลูก, ญาติ, เพื่อนและคนรู้จักที่สนิท

3.2) คำทักทายอย่างเป็นทางการ (Sie) สำหรับคนอื่น ๆ ได้ทั้งหมด

 

4. การเขียน

4.1) คำทักทายอย่างเป็นทางการ (Sie,Ihnen,Ihre E-Mai ฯลฯ)

เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น ในอีเมลหรือจดหมาย

4.2) คำทักทายที่ไม่เป็นทางการ (du/Du,dir/Dir, deine/Deine Email

ฯลฯ ) สามารถเขียนเป็นตัวพิมพ์เล็กหรือตัวพิมพ์ใหญ่ได้

คำกริยา Verb

คำกริยาคือคำที่บอกอาการหรือการกระทำ และบอกความเป็นอยู่หรือสภาวะความเป็นอยู่ของนามในประโยคนั้น ๆ

กริยาแท้คือกริยาที่ประธานเป็นผู้กระทำ

1.กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับเรียกว่า สหกรรมกริยา (Transitive Verben)

Ich esse Reis. (ฉันกินข้าว)

2. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ

เรียกว่า อกรรมกริยา

(Intransitive Verben)

Ich schlafe. (ฉันนอนหลับ)

กริยาช่วยหมายถึงกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อทำให้ประโยคสมบูรณ์ขึ้น มี 3 ตัวคือ sein, haben, werden เช่น

Wo bist du gewesen?

bist = กริยาช่วยใช้คู่กับ

gewesen ( verb ช่อง 3 ของกริยา sein) เพื่อบ่งการ Perfekt (อดีต)

ในการผันกริยาในกาลปัจจุบัน เราลบการลงท้ายแบบ

อินฟินิตี้ -en และเพิ่มการลงท้ายต่อไปนี้:

ในการผันกริยา
Präposition
Präposition

Präposition คือคำที่ใช้วางอยู่หน้าคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของมันกับคำอื่น ๆ ในประโยคเพื่อบอกเวลา สถานที่ ทิศทาง ฯลฯ ซึ่ง ในเนื้อหานี้เราจะกล่าวถึง

1.Präposition mit Dativ คำบุพบทที่ใช้กับกรรมรอง

2.Präposition mit Akkusativคำบุพบทที่ใช้กับกรรมตรง

3.Präpositionen mit Akkusativ oder Dativ ใช้ได้ทั้ง

กรรมตรงและกรรมรอง (Wechselpräpositionen)

การย่อคำบุพบทและคำนำหน้านาม รวมกันเป็นคำเดียว เช่น

ตัวย่อ

an dem =am

an das = ans

auf das  =aufs

in dem  = im

in das = ins

bei dem = beim

von dem = vom

zu dem = zum

zu der = zur

Modalverben คือคำกริยาช่วยพิเศษทำหน้าที่ผันตามประธาน อยู่ส่วนที่สองของประโยคและกิริยาตัวจริงจะอยู่ท้ายสุดของประโยค โดยไม่ต้องผันเรียกว่า Infinitiv

müssen  ต้อง

mögen/ möchten

ชอบ, อาจจะ, อยาก, ต้องการ

können สามารถ

dürfen  ได้รับอนุญาต

sollen แปลว่า น่าจะ หรือ ควรจะ

wollen แปลว่า ต้องการ

Imperativ

ประโยคคำสั่งเป็นรูปของกริยาที่ใช้ในการสั่ง อาจจะใช้เป็นคำขอร้องหรือคำแนะนำก็ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

1.แบบกันเองเอกพจน์ ใช้ du (เธอ)

2. แบบกันเองพหุพจน์ ใช้ ihr (พวกเธอ)

3.แบบสุภาพใช้ Sie (คุณ)